15 ต.ค. 2553

ปากพนัง2553ประชาชนไม่ได้ผลประโยช อย่างที่กลมชลประทานโฆษณา ระบบนิเวศน์เดิม เปลี่ยนไปชาวบ้านเป็น หนี้ ธกส มากขึ้นทันตาเห็น

ลุ่มน้ำปากพนัง
ระบบนิเวศน์เดิม
แม่น้ำปากพนัง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด เขตตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด บริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัด ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยทรัพยากรป่าไม้ แหล่งน้ำ และชายฝั่งทะเล พื้นที่ป่าไม้ประกอบด้วย ป่าบก ป่าพรุ ป่าชายเลน และป่าจาก เป็นแหล่งต้นน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์-อนุบาลสัตว์น้ำ ประชาชนประกอบอาชีพต่างๆ เช่น ทำนา ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ ทำประมง โดยการทำนาจะมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่สามารถเก็บเกี่ยวในระยะทันในเวลาที่น้ำทะเลขึ้น
สภาพปัญหา กรมชลประทานได้สร้างประตูระบายน้ำหลัก "ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์" ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กั้นแม่น้ำปากพนัง โดยปิดประตูน้ำถาวรในวันที่ 1 ตุลาคม 2542 เพื่อกั้นน้ำเค็มจากอ่าวปากพนังไม่ให้ไหลเข้าและเก็บกักน้ำจืดมิให้ไหลออก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่หลายร้อยไร่ ส่งผลกระทบดังนี้
1. ทำนาไม่ได้เพราะน้ำท่วมขัง
2. สัตว์น้ำลดลงเพราะวงจรชีวิตเปลี่ยนไป ชาวประมงพื้นเมือง 5,000 ครัวเรือนหมดอาชีพเพราะหาสัตว์น้ำไม่ได้
3. ต้นจากป่าจาก เสียหายล้มตายเพราะต้นต้องการน้ำไหลเวียนทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย
4. การแบ่งเขตน้ำเค็มและน้ำจืดไม่สอดคล้องกับการใช้ที่ดินของชุมชน และการทำนากุ้งของเกษตรกร
5. เกิดน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลปากพนัง
6. ระบบนิเวศน์เสียจากการขุดลอกคลองและทำลายป่า เกิดน้ำเน่าเสีย
ข้อเสนอ
ให้ทดลองเปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์ เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี และศึกษาผลกระทบจากการปิดและเปิดเขื่อนในระยะ 3 ปี โดยคณะศึกษาประกอบด้วยนักวิชาการและชุมชนในลุ่มน้ำปากพนัง
จะเห็นว่าทั้งสามลุ่มน้ำต่างก็เป็นรอยต่อระหว่างระบบนิเวศน์น้ำจืด และระบบนิเวศน์น้ำเค็ม ทำให้เกิดระบบนิเวศน์น้ำกร่อย อันเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และมีความอ่อนไหวตามอิทธิพลกระแสน้ำขึ้นน้ำลงและลมธรรมชาติตามฤดูกาล ซึ่งประชาชนแต่ละลุ่มน้ำต่างก็มีวิถีชีวิตและประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติด้วยดี แต่โครงการของรัฐที่เกิดขึ้นไม่ได้คำนึงถึงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาชาวบ้านที่ดำรงอยู่มาแต่เดิม ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชนอย่างมาก จึงควรที่รัฐจะหันมาปรับปรุงโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาชาวบ้านและระบบนิเวศน์ดั้งเดิมให้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น