28 ก.ย. 2553

ลุ่มน้ำปากพนังระทมน้ำท่วมขังนานนับเดือน - เหตุปิดตายประตูเขื่อน

หลายที่ ที่นาน ๆ น้ำจะท้วมสักครั้งแต่เดี๋ยวนี้ท่วมปีละ2ครั้ง ครั้งละเป็นเดือน ๆ


เด็กสนุกแต่ผู้ใหญ่ระทม
 นครศรีธรรมราช - พื้นที่โดยรอบลุ่มแม่น้ำปากพนังนครศรีฯ 6 อำเภอ ระทมหลังน้ำท่วมขังนานนับเดือน น้ำเริ่มเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น เหตุน้ำไม่สามารถระบายออกทะเลได้ วอนเปิดประตูเขื่อนลุ่มแม่น้ำปากพนัง วันนี้ หลังจากสถานการณ์ฝนตกในระลอกที่ 3 ส่งผลให้พื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมเดิม หลาย อำเภอ ระดับน้ำที่ลดลงเกือบเป็นปกติเพิ่มสงขึ้นอีกครั้งและไหลบ่าท่วมพื้นที่การเกษตร ถนนหนทาง และบ้านเรือนของชาวบ้านที่ปลูกในที่ลุ่ม ในขณะที่พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง 6 อำเภอที่ถูกน้ำท่วมหนักนานนับเดือนประกอบด้วย อ.ปากพนัง อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ชะอวด อ.เมืองบางส่วน ระดับน้ำในพื้นที่ยังสูงกว่า 1 เมตร โดยเฉพาะในอำเภอปากพนัง น้ำที่ท่วมขังทุ่งนาและบริเวณป่าพรุต่างๆได้เริ่มน้ำเน่าเสีย จากซากพืชที่จมน้ำเป็นเวลานานจนตายและเน่า จนน้ำมีสีคล้ำชาวบ้านไม่กล้าเดินลุยน้ำ เพราะกลัวเชื้อโรคร้ายที่มากับน้ำ ซึ่งมีชาวบ้านป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้าจำนวนมาก
      
       นายวิโรจน์ ธีระกุล อายุ 70 ปี มีบ้านอยู่ข้างวัดบางไทร ต.บางศาลา อ.ปากพนัง กล่าวว่า ในขณะนี้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหน่วยราชการยุติไปหมดแล้ว แต่ชาวบ้านในลุ่มน้ำปากพนังกลับได้รับความเดือดร้อนหนักมากยิ่งขึ้น เนื่องจากน้ำท่วมขังนานนับเดือนแล้ว น้ำก็เน่าส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง เพราะไม่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ สัตว์เลี้ยงก็อยู่บนถนนและขาดอาหารผอมโซ ชาวบ้านก็ไม่สามารถลงจากบ้านไปประกอบอาชีพได้ เป็นความเดือดร้อนหนักกว่าช่วงแรกๆ ที่ถูกน้ำท่วมเสียอีก
      
       “ตามวัดต่างๆ พระภิกษุ สามเณร ก็เดือดร้อนเพราะเมื่อชาวบ้านไม่สามารถประกอบอาชีพได้ พระภิกษุออกบิณฑบาตไม่ได้ไม่มีอาหารฉันท์ ทั้งชาวบ้านและพระภิกษุต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ สงสารพระอาจารย์ไพศาลวิริยกิจ หรือพระอาจารย์เนียม วัดบางไทร พระเกจิชื่อดังเมืองนครศรีธรรมราช ที่ในแต่ละวันนั่งจับเจ่าอยู่บนกุฏิ ชาวบ้านต้องพยายามที่จะหาอาหารมาถวายให้พระอาจารย์เนียม และพระเณรในวัดได้ฉันพอประทังความหิวไปวันๆ เป็นสถานการณ์ที่น่าเวทนาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งยังมีพระภิกษุ สามเณรอีกหลายวัดรวมทั้งชาวบ้านในหลายพื้นที่ที่ต้องทนทุกข์อยู่ในสภาพเดียวกัน จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลจนกว่าน้ำจะลดเป็นปกติ” นายวิโรจน์กล่าว
      
       สำหรับสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นเวลานาน เนื่องจากน้ำไม่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังได้ปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์ตลอดเวลา เนื่องจากระดับน้ำทะเลได้หนุนเป็นระยะอย่างต่อเนื่องทำให้การระบายน้ำในพื้นที่เป็นไปอย่างล้าช้า และไม่จริงจังในการดูแลชาวบ้าน

24 ก.ย. 2553

แหล่งวางไข่ของปลาที่อยู่ได้สองน้ำได้หายไปจากลุ่มน้ำปากพนัง



ก่อนที่จะมีประตูระบายน้ำ อุทกวิภาชประสิทธิ์ ลุ่มน้ำปากพนังแห่งนี้เป็นแหล่ง อนุบาลลูกปลาได้เป็นอย่างดี เพราะปลาที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นปลาสองน้ำ ปลาทะเล ปลาบางชนิดต้องไปวางไข่ที่ตอนบนของลุ่มน้ำปากพนัง ชื่งมีน้ำจืดไหลลงมาจากตอนบน มาเจอกับน้ำเค็มที่ไหลขึ่นไปจากตอนล่าง เลยทำให้ลุ่มน้ำปากพนังกลายเป็นน้ำกร่อยหลายกิโลเมตร  ตรงบริเวณนี้ ที่เป็นน้ำกร่อย จะเป็นที่วางไข่ของปลา นานับชนิด วางไข่แล้วแม่ปลาก็กลับลงทะเล หรือไม่ก็ลงมาอาศัยอยู่ที่ลุ่มน้ำปากพนังตอนล่าง ทำให้ประชาชนคนหาปลาได้มีปลากิน และนำมาขายหาเลี้ยงครอบครัวได้ ตามแต่ละฤดูกาล ลูกปลาที่ฟักเป็นตัว บริเวณน้ำกร่อย ก็เจริญเติบโตได้ดีเพราะว่า ลูกปลาจะมี ตะไคร้น้ำ และตะไคร้ดิน ซึ่งเป็นแหล่งหากินของลูกปลามากมาย ในลุ่มน้ำแห่งนี้ พอลูกปลาเริ่มโต ลูกปลาบ้างก็ขึ่นไปตอนบน บ้างก็ลงมาตอนล่าง ทำให้คนสองฝั่งลุ่มน้ำ ได้จับปลาเหล่านี้ มากินมาขาย มาดำลงชีพอยู่อย่างพอเพียง  อยู่ดีกินดีเป็นนายของตัวเอง แต่เดี๋ยวนี้ปลาเหล่านี้ได้หายไป เพราะประตูระบายน้ำได้ปิดกัน แหล่งวางไข่ที่อุดมสมบูรณ์ ของปลาที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำปากพนัง ทำให้อาชีพ ประมงพื้นบ้าน ประมงเรือพาย  หรือ การทำยอยกปลา การทอดแห การใช้ตาข่าย ได้หายไป หรือจับปลาได้น้อยไม่พอต่อการเลียงครอบครัว แล้วความไม่เพียงพอก็ตามมา ทำให้คนลุ่มน้ำปากพนัง ต้องออกไปทำงานเป็นกรรมกรใช้แรงงาน ได้เงินมาก็ต้องไปซื้อปลาจากตลาด มากิน ทำให้เงินที่ได้มาจากการทำงาน ไม่เพียงพอต่อการดำลงชีพภาระก็มาก ลูกก็ต้องเรียน เมื้อก่อนเคยอยู่กันอย่างมีความสุข แต่มีประตูระบายน้ำเข้ามา ประชาชนส่วนใหญ่กลับเป็นทุก เพราะอู่ข้าวอู่น้ำถูกปิดตาย น้ำหยุดนิ่ง น้ำท้วมขังซ้ำซากเน่าเหม็นวัชพืชเยอะ ความเสร้า ความเงียบเหงา ต้องเข้ามาเยือนคนลุ่มน้ำ เพราะคนหนุ่มสาวไม่มีแหล่งทำกิน ต้องไปทำงานไกลบ้าน ทางรอดของคนลุ่มน้ำปากพนังก็คือ ต้องเปิดประตูให้สายน้ำได้ไหลขึ่น ไหลลง คืนชีวิตให้คนลุ่มน้ำปากพนังอีกครั้ง ปล. จากคนลุ่มน้ำปากพนัง

23 ก.ย. 2553

ความเดือดร้อนของคนจำนวนมากไม่เคยเอามาออกเลย เอามาออกแต่บางคนที่ได้ประโยชน์ชึ่งเป็นคนส่วนน้อย

ความสวยงามของประตูระบายน้ำทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องย้ายถิ่นฐานไปทำงานไกลบ้านเพราะความอุดมสมบูรณ์ได้หายไปเพราะประตูระบายน้ำแห่งนี้ ผมได้เห็นถึงความเดือดร้อนของคนลุ่มน้ำมากมาย แต่ก็ทำอ่ะไรไม่ได้เลย ประชาชนต้องหมดแรงอย่างช้า ๆ แต่ กลมชลประทานยังออกข่าว ด้านบวกอยู่ อย่างต่อเนื่อง สร้างความอัดอั้นตันใจ อย่างรุนแรงไห้คนลุ่มน้ำปากพนัง
  • ความเดือดร้อนของคนจำนวนมาก ไม่เคยเอามาออกเลย เอามาออกแต่บางคนที่ได้ประโยชน์ชึ่งเป็นคนส่วนน้อย แล้วประชาชนจำนวนมากที่เดือดร้อน ไปอยู่ใหน หรือคนจำนวนมากที่ไม่ต้องการประตูระบายน้ำแห่งนี้ เขาไม่มีค่าในสายตาของใครบางคน ประชาชนรอวันที่จะประท้วง เพื่อให้เปิดประตูระบายน้ำ เพื่อให้มี2 น้ำเหมือนก่อน คือ น้ำเค็มน้ำจืด เพื่อที่จะให้ปลาน้ำกร่อยได้กลับมา เป็นเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนปากพนังต่อไป

14 ก.ย. 2553

คืนความอุดมสมบูรณ์ให้คนลุ่มน้ำปากพนังควรที่จะเปิดประตูระบายน้ำปากพนัง

มีคนพูดว่าประชาชน ปากพนังได้ ทิ้งฐินฐานไปอยู่ที่อื่นเพราะว่า น้ำเค็มลุกล้ำเข้ามาที่ลุ่มน้ำปากพนัง จนทำเกษตไม่ได้ ไม่เป็นความจริง เพราคนปากพนังก็มีที่ปลูกข้าว นาปีอยู่แล้ว แล้วชาวนาก็ทำกันทุกปี อยู่ได้สบาย ใครไม่มีนาข้าว ก็ลง ลุ่มน้ำหาปูหาปลา ก็อยู่ได้ไม่อดตาย เลี้ยงครอบครัวได้ ใครที่มีนาข้าวก็ถึงหน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็ลงมาหาปลาที่ลุ่มน้ำเหมือนกัน แต่พอมีประตูระบายน้ำ เท่านั้นแหละ ประชาชนที่อยู่ที่ต่ำก็โดนน้ำท่วมขัง ทำอ่ะไรก็ไม่ได้ ในลุ่มน้ำก็ ไม่มี ปู ปลาให้จับ ก็เลยทิ้งที่ทำกินไปอยู่ที่อื่น เดือนร้อนกันไปทั่ว ควรที่จะเปิดประตูระบายน้ำปากพนัง ทางผู้เกี่ยวข้องต้องลงมาดู มาศึกษา ผลกระทบอย่างจริงจัง  ต้องเปิดประตูเท่านั้นคนลุ่มน้ำถึงจะอยู่ได้ เพราะว่าหน้าฝนน้ำฝนจะมากแล้วฝนก็ตกต่อเนื่อง ทำให้น้ำจืดไหลลงมา ดันน้ำเค็มลงไปได้มาก แล้วหน้าแล้งน้ำก็ขึ่นไปบ้าง ถ้าเปิดประตูระบายน้ำ จะส่งผลดีกับประชาชน ทั้งตอนล่าง และตอนบน ของลุ่มน้ำปากพนัง แต่ตอนนี้ได้ปิดตายประตูระบายน้ำ เลยทำให้คนตอนล่างไม่มีแหล่งจับสัตว์น้ำ และคนตอนบนก็ต้องเดือดร้อนเพราะ น้ำไม่ถ่ายเท วัชพืชอย่างผักตบผัก กะเฉดทำให้น้ำเน่าเสีย ใช้ประโยชจากน้ำไม่ได้ ทางเลือกนี่น่าจะทำให้คน ตอนล่างและตอน บน อยู่ได้โดยที่มีความเดือนร้อนน้อยที่สุด แต่ถ้าปิดประตูทั้งปีจะทำให้เดือนร้อนทั้ง2ฝ่าย จากคนลุ่มน้ำปากพนัง

ลุ่มน้ำตอนบนมีพืชผัก มีข้าว แต่คนตอนล่างไม่มีปลาให้จับแล้วจะอยู่กันอย่างไรคนตอนล่างกับตอนกลางก็ต้องกินต้องใช่เหมือนกัน เมื่อก่อนไม่มีประตูระบายน้ำประชาชนอยุ่กันได้อย่างมีความสุขแต่ตอนนี้คนส่วนมากเดือดร้อน


13 ก.ย. 2553

ศาลหลวงต้นไทร" ลุ่มน้ำปากพนัง!

ศาลหลวงต้นไทร" ลุ่มน้ำปากพนัง! ต้นไทรต้นนี้อาจจะรู้ว่าลูกหลานกำลังจะแย่เพราะการ ปิดประตูระบายน้ำแห่งลุ่มน้ำปากพนัง เพราะว่าไม่มีเครื่องจักรกลเข้าไปขุดบริเวรต้นไทรได้จึงต้องเว้นเอาไว้ อย่างที่เห็นนี้อาจบอกเป็น ใน ๆ ว่าหยุดการสร้างประตูบายน้ำเถอะ

ก่อนขุดมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งวางไข่ของสัตว์น้ำหลายชนิด

หลังขุดลอกความอุดมสมบูรณ์ได้หายไปแหล่งเพาะพันธุ์ปลาของคนลุ่มน้ำตอนล่างกับคนลุ่มน้ำตอนกลางได้หายไปเดือดร้อนกันนับ1000 ครอบครัวไม่มีใครแก้ปัญหาไห้ชาวบ้านเลย

คลองย่อยที่เคยมีปลาชุกชุม ก็กลายเป็นผักตบ ผักกะเฉดน้ำก็เน่า แล้วจะเอาปลาปูที่ ไหนกินกันครับที่ต้องเปิดเผยความจริงก็เพราะว่า วันนี้ชาวบ้านหมดเงิน หมดงานหมดแหล่งจับ ปู ปลา กุ้ง ไม่มีรายได้เหมือนเมื่อก่อน เห็นใจประชาชนส่วนใหญ่ด้วยครับ ผู้ที่เกี่ยวข้อง กับประตูระบายน้ำ ปากพนังเขาไม่ได้เดือดร้อน เพราะว่าเขามีเงินเดือน พอแก่ตัวไปก็มี บำเหน็จบำนาญ แต่ชาวบ้านไม่มีบำเหน็จบำนาญ แล้วจะอยู่กันอย่างไร
 อาจารย์ ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ จากสำนักคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอไว้อย่างลุ่มลึกและกว้างไกลใน หนังสือเศรษฐศาสตร์การเมือง (เพื่อชุมชน) 14 ว่า ท่ามกลางกระบวนการของโลกาภิวัตน์ การขยายตัวของทุนนิยมโลก (ระบบบูชากลไกการตลาดอย่างสุดขั้ว) และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เราก็ยิ่งเห็นวิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติ วิกฤติทางสังคม ความยากจน ความอดอยากหิวโหย และความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจสังคมทั่วโลก วิกฤติของโลกชีวิตดังกล่าวล้วนมีต้นตอมาจากที่เดียวกัน นั่นคือ วิกฤติการณ์ของวิธีการมองโลก (Crisis of Perception) โลกทัศน์ ระบบคิด วิธีคิด ความเชื่อ หรือเรียกรวมๆว่าพาราไดม์ของเราซึ่งดำรงอยู่ในขณะนี้ ล้มเหลวอย่างมากในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่โลกเรากำลังพบอยู่ ในช่วงสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 เราได้พบเห็นว่า มีการเคลื่อนไหวใหม่ๆ เกิดขึ้นในวงวิทยาการ ในการแสวงหาระบบคิดใหม่ๆ ผู้คนในวงการต่างๆริเริ่ม "เคลื่อนไหวสังคม" อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนทั้งในโลกที่หนึ่งและโลกที่สาม เพื่อหาความหมายของชีวิตใหม่ ดำเนินวิธีการดำรงชีวิตแบบใหม่ สร้างเครือข่ายใหม่ๆ มีวิชั่นใหม่ๆ เพื่อสร้างพื้นฐานใหม่ให้แก่อนาคตของเราเอง



ผลจากการที่มีวิธีการมองโลกที่แตกต่างกันระหว่างชาวบ้านและนักวิชาการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาของรัฐที่ลอกแบบมาจากโลกตะวันตกทำให้ชุมชนลุ่มน้ำปากพนังกำลังตกอยู่ในวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติ ดังเช่นเหตุการณ์น้ำเสียในแม่น้ำปากพนังจากการปิดกั้นระบบนิเวศของแม่น้ำทำให้ปลาตายนับแสนตัว เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2547 อันเนื่องมาจากวิธีการมองโลก วิธีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่แตกต่างกันดังกล่าว ตัวอย่างเช่น


1. จากกิจกรรมที่ผมได้ลงพื้นที่ทำการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แม้แต่องค์กรเอกชนในพื้นที่ เช่น สมาคมเพื่อนเกลอเทือกเขาหลวง ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอำเภอปากหนัง เครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำปากพนัง เป็นต้น ปรากฎว่าข้อมูลที่ได้จากชาวบ้านมีความแตกต่างจากข้อมูลของกรมชลประทาน เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการอาชีพที่ผสมผสานสอดคล้องกับระบบนิเวศของลุ่มน้ำที่สมบูรณ์อยู่แล้ว เช่น ทำนาปีละครั้งและผสมผสานกับอาชีพประมงพื้นบ้านในคลองและอาชีพที่เป็นผลผลิตจากต้นจากซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ กล่าวคือในหนึ่งครัวเรือนสามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลายตามฤดูกาลซึ่งอาจเรียกตามภาษาทางวิชาการว่า การผลิตแบบเชิงซ้อน (อานันท์ กาญจนพันธ์) ส่วนการผลิตแบบเชิงเดียวนั้นได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามิใช่เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสรุปก็คือ ชาวบ้านก็มิได้ปฏิเสธการทำนาแต่เห็นว่าการทำนาเพื่อการค้านั้นขาดทุน ส่วนพื้นที่ที่ทำปีละหลายครั้งก็มีทำกันอยู่ซึ่งมีระบบชลประทานเข้าไปช่วยก็ดีแล้ว แต่จะอยู่ไกลจากแม่น้ำปากพนังซึ่งสามารถเก็บน้ำในคลองซอยไว้ใช้ได้และถ้าน้ำไม่พอก็สามารถสร้างแหล่งน้ำเพิ่มได้อีกหลายวิธีที่ต้นทุนองค์รวมต่ำกว่าการปิดแม่น้ำปากพนังบริเวณใกล้ปากแม่น้ำเพื่อต้องการน้ำจืด (อันที่จริงแล้วในตอนแรก ประตูระบายน้ำจะอยู่ที่บริเวณตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่) เพราะฉะนั้นข้อสมมุติฐานที่จะให้ลุ่มน้ำปากพนังผลิตข้าวทั้งลุ่มน้ำไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและที่สำคัญก็คือ ถ้ามองในมิติทางเศรษฐศาสตร์แล้วผลผลิตข้าวที่ได้มาทั้งลุ่มน้ำจะไม่คุ้มกับระบบนิเวศและอาชีพอื่นที่สูญเสียไป ข้อสังเกตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ แม่น้ำปากพนังนอกจากไม่มีความลาดชันแล้ว ยังเป็นแอ่งอยู่ที่อำเภอเชียรใหญ่และถ้าหากต้องการจะเก็บน้ำไว้ใช้ให้ได้ระดับตามที่ต้องการ น้ำก็จะท่วมอำเภอเชียรใหญ่ ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ชัดว่าเมื่อเกิดวิกฤติบริเวณล่างประตูระบายน้ำทางกรมชลประทานก็ไม่สามารถระบายน้ำลงมาเพื่อบรรเทาปัญหาวิกฤติได้เพราะระดับน้ำในประตูระบายน้ำกับนอกประตูระบายน้ำมีระดับที่ใกล้เคียงกัน เมื่อเปิดประตูระบายน้ำ น้ำที่ไหลช้าไม่สามารผลักน้ำเสียออกไปสู่ป่าชายเลนซึ่งเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียตามธรรมชาติได้




2. ในขณะที่กรมชลประทานมองว่าน้ำท่วมเป็นเรื่องผิดปกติจึงต้องสร้างประตูระบายน้ำเพื่อกันน้ำท่วม แต่ชาวบ้านกลับมองว่าน้ำท่วมเป็นเรื่องปกติ เพราะน้ำที่ท่วมจะนำสัตว์น้ำจากแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ คือ ป่าพรุ หรือกรมประมงของชาวบ้าน ปลาเหล่านั้นก็จะมาอยู่ในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงให้ชาวบ้านจับขายเป็นอาชีพประมงพื้นบ้านผสมผสานกับการทำนา และถ้าจะมีไร่นาสวนผสมบ้างก็สามารถสร้างแหล่งเก็บน้ำจืดเป็นจุดๆ ไปตามความต้องการของในแต่ละพื้นที่ มิใช่มาปิดแม่น้ำปากพนังอย่างนี้ ขอโอกาสให้ชาวบ้านช่วยร่วมคิดกับท่านบ้าง แล้วทิศทางการพัฒนาจะสมบูรณ์กว่านี้ ชาวบ้านฝากมาอีกว่า น้ำท่วมในแต่ละปีนั้นจะพัดพาเอาปุ๋ยตามธรรมชาติมาอยู่ในนา เมื่อน้ำแห้งก็ไถนาได้ง่ายและลดต้นทุนค่าปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น และที่สำคัญคือเมื่อใช้ปุ๋ยเคมีนานวันเข้าก็จะทำให้ดินดานหรือดินแข็ง ไถพรวนได้ยากมาก

3. ในขณะที่กรมชลประทานมองว่าน้ำเค็มรุกเข้าไปในแม่น้ำปากพนังเป็นเรื่องผิดปกติจึงต้องสร้างประตูระบายน้ำเพื่อกันน้ำเค็มรุก แต่ชาวบ้านกลับมองว่าน้ำเค็มรุกเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นระบบนิเวศน้ำกร่อยที่มีประโยชน์ เช่น มีสัตว์น้ำกร่อยตามธรรมชาติที่ราคาสูงกว่าสัตว์น้ำที่ราชการส่งเสริมให้เลี้ยง และมีแนวโน้มจะให้เลี้ยงสัตว์เหมือนกับภาคกลางชาวบ้านก็เป็นห่วงว่าเมื่อสินค้ามีมากราคาก็จะตก สัตว์น้ำกร่อยเริ่มจะหายากและมีราคาแพง น่าสนใจนะครับ และเหตุการณ์น้ำเค็มรุกเมื่อปี พ.ศ. 2532 นั้นเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่บอกเราหรือเตือนเราว่า ป่าไม้ข้างบนภูเขาซึ่งเป็นพื้นที่ผลิตน้ำจืดตามธรรมชาติเหลือน้อยและไม่สามารถผลิตน้ำจืดในปริมาณมากพอมาผลักน้ำเค็มที่รุกได้ กล่าวคือธรรมชาติเตือนเราให้เร่งอนุรักษ์และฟี้นฟูป่าต้นน้ำ เพราะฉะนั้นเมื่อช่วยกันเรียกความอุดมสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำกลับคืนมาได้ ประตูระบายน้ำที่มีอยู่แล้วก็สามารถเปิด-ปิด ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศลุ่มน้ำปากพนังที่แตกต่างจากลุ่มน้ำอื่นได้ หรือที่ชาวบ้านพูดว่านายธรรมชาติ ณ ระบบนิเวศ บริหารจัดการลุ่มน้ำได้ดีอยู่แล้วและไม่ต้องเสียเงินเดือนหรือค่าจ้าง



4. แหล่งน้ำจืดสำหรับสำหรับผลิตน้ำประปาเพื่อประชาชนนั้นมีอีกหลายวิธีที่ประหยัดงบประมาณและไม่ทำลายระบบนิเวศน้ำกร่อยดังที่ปิดกั้นแม่น้ำปากพนัง เช่น ขุดแหล่งน้ำรวมของแต่ละ อบต. หรือหลาย อบต. ที่ใกล้เคียงเป็นแหล่งน้ำรวม และขุดคลองซอยเพิ่มขึ้นอีกเพื่อเก็บกักน้ำจืดซึ่งมีประตูระบายน้ำเล็กๆ ตัวเดิมที่มีอยู่แล้วบริหารจัดการ หรือแม้กระทั่งขุดคลองสายใหม่ที่เก็บกักน้ำขนานกับแม่น้ำปากพนังเป็นแม่น้ำอีกสายโดยไม่ต้องปล่อยน้ำลงทะเลและคงสภาพแม่น้ำปากพนังเดิมไว้ก็จะสอดคล้องกับแนวคิดได้ทั้งหมด (Win-Win) ก็จะไม่มีใครเสียหรือถ้าเสียก็เสียน้อยที่สุด มิใช่แนวคิดได้ต้องอย่างเสียอย่าง ซึ่งเคยใช้อธิบายกับชาวบ้านดังในอดีตที่ผ่านมา สุดท้ายชาวบ้านก็เป็นผู้เสียสละเพื่อการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน และชาวบ้านเชื่อว่าระบบชลประทานขนาดเล็กมีประโยชน์แต่มิใช่ด้วยวิธีการปิดแม่น้ำอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

5. ประเด็นที่เป็นห่วงเรื่องนากุ้งนั้น ชาวบ้านให้ความเห็นว่า ไม่ต้องไปทำอะไรหรอกเพราะการเลี้ยงแบบหนาแน่นที่หวังร่ำรวยอย่างรวดเร็วนั้นในระยะยาวไม่สามารถทำได้ เพราะเมื่อเกิดโรคก็ต้องใช้สารเคมีที่มีราคาแพง อาหารก็มีราคาสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไม่สามารถแข่งกับราคากุ้งธรรมชาติหรือเลี้ยงแบบธรรมชาติได้หรือแม้กระทั่งแข่งกับกุ้งต่างชาติได้ แม้รัฐบาลประกันราคาก็ประกันอยู่ได้ในระยะสั้นเท่านั้น ทางออกก็คือ ต้องเลี้ยงให้ต้นทุนต่ำบนพื้นฐานของความไม่โลภ



6. ประเด็นเรื่องคลองลัดที่ขุดเพื่อให้น้ำไหลเวียนบริเวณล่างประตูระบายน้ำนั้น ถ้าน้ำไหลแรงอาจจะช่วยได้ แต่วิกฤติที่จะตามมาก็คือ น้ำที่ไหลเวียนนั้นเป็นน้ำเค็มจัดแน่นอน ป่าชายเลนซึ่งเป็นระบบนิเวศน้ำกร่อยและเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของนกแอ่นในปากพนังพร้อมทั้งเป็นหม้อข้าวของชาวบ้านรอบอ่าวปากพนัง ก็จะเสื่อมโทรมและตายในที่สุด ผลที่มนุษย์เข้าไปจัดการกับระบบนิเวศสุ่มน้ำในมุมมองเพียงมิติทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวโดยผ่านวาทกรรมความยากจนที่ผ่านมา ท้ายที่สุดอาจจะเพิ่มความยากจนขึ้นในลุ่มน้ำปากพนังได้เช่นกัน เพราะเท่าที่ศึกษาดูแล้วโครงการต่างๆ ที่รัฐบาลสนับสนุนนั้นเป็นโครงการที่มีต้นทุนสูงและต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเท่านั้นจึงจะทำได้ แล้วชาวบ้านที่ต้องการเศรษฐกิจพอเพียงและพึ่งตนเองจะอยู่ได้หรือ สิ่งที่ผมชี้แจงมานั้นต้องขอขอบคุณชาวลุ่มน้ำปากพนังที่ให้ข้อมูลในเชิงลึกในขณะที่ลงทำการวิจัยในพื้นที่ และขอยืนยันว่าการคิดแทนชาวบ้านนั้นในที่สุดความหวังดีก็จะกลายเป็นความหวังร้ายได้เช่นกัน

11 ก.ย. 2553

อยากให้ผู้ดูแลประตูระบายน้ำปากพนังเปิดประตู


รูปอาจจะดูดี แต่เต็มไปด้วยคราบน้ำตา ของคนลุ่มน้ำปากพนังโดยที่ เรียก ร้อง อ่ะไรไม่ได้ ไม่มีปลาชุกชุม ไม่มีเงินไม่มีแหล่งทำกิน ที่ได้จากสายน้ำ ไม่มีเงิน ส่งลูกหลานเรียน ลูกหลานต้องไร้การ ศึกษา ไม่มีอาชีพที่มั่นคง ต้องเป็นกรรมกร ทำไม่ไหว ก็ต้องล้มหมอน นอนเสื่อโดยที่ไม่มีเงินรักษา ต้องสิ้นลม สิ่นแรงอย่างช้า ๆ ผู้ที่เกี่ยวข้อง กับประตูระบายน้ำแห่งนี้ ไม่ได้เดือดร้อน กับชาวบ้านหาเช้ากินค่ำ จึงได้เมินเฉยจนถึงทุกวันนี้
 อยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับประตูระบายน้ำแห่งนี้ได้เห็นความเดือดร้อน ของคนส่วนมากเพราะว่าหมดทางทำกินจริง ๆ หนทางทำกินก็มีบ้างแต่ไม่หลากหลายเหมือนตอนที่มีน้ำขึ่นน้ำลง ถ้าประชาชน คนลุ่มน้ำปากพนัง ไม่มีหนทางทำกินที่ยั่งยืน แล้วประชาชนจะอยู่อย่างไร เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ก็เขียนรายงานว่าอุดมสมบูรณ์
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แต่ที่จริงประชาชนหาปลาแทบจะไม่ได้เลยได้น้อยไม่พอใช้ประชาชนก็รู้จักอดจักออมน่ะ แต่เงินที่หามา มันได้น้อยแล้วจะมีเงินเก็บเงินออมได้ไง  ข้อดีของการทำประตูระบายน้ำก็มี แต่มีน้อย แต่เขียนรายงานอย่างสวยหรูว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสีย แบบนี้โกหกทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามันไม่จริง ประชาชนส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้ประโยช แล้วถ้าไม่ฟังเสียงคนข้างมากในลุ่มน้ำปากพนัง ประชาชน คนจน ๆ จะมีชีวิตที่ดีได้อย่างไร มีแต่ทำงานมากขึ่น และก็จนลงกว่าเดิม จากคนลุ่มน้ำปากพนัง

ความอุดมสมบูรณ์ไม่ใช่น้ำจืดเสมอไป

ความอุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่น้ำจืดเสมอไป ความอุดมสมบูรณ์ของคนลุ่มน้ำปากพนังบางกลุ่ม อยู่ได้โดยมีอาชีพเสริม ที่ยั้งยืนมาช้านาน อาชีพเสริมของคนหลายคน แห่งลุ่มน้ำปากพนังก็คือต้นจาก ชึ่งต้นจากชาวบ้านได้นำมาเย็บเป็นตับ เอาไว้บังแดดบังฝน และเอาไว้ขายประมาณตับละ2.50  ถึง5 บาท ชึ่งทำรายได้ไห้คนเฒ่าคนแก่ ที่ต้องอยู่ดูแลบ้าน และก็ทำน้ำตาลจาก น้ำส้มจาก ในคราวเดียวกัน แต่วันนี้เปลี่ยนไป รายได้ที่มากับต้นจาก ได้หายไปเพราะว่า ต้นจากจะโตเร็วในที่ ที่มีน้ำกร่อย น้ำเค็มไม่มาก แต่ตอนนี้กลายเป็นน้ำจืดสนิด ต้นจากเลยไม่ค่อย ออกใบ ไม่ค่อยออกผล ทำไห้ใบจากที่จะนำมาเย็บขาย ทำได้ค่อนข้างน้อยเพราะ ต้นจากโตช้ามาก  และไม่ออกลูกหรือออกลูกช้า ทำไห้การ ทำน้ำตาลจาก ทำน้ำส้มจาก ได้ขาดหายไปหลายเดือน ทำไห้ชาวบ้านที่หารายได้โดยทำอาชืพนี้ต้อง เสียรายได้ที่สมั่มเสมอไป ทำไห้การคำรงชีวิต ต้องยากลำบากขึ้นเพราะว่า ไม่มีน้ำเค็มกับน้ำจืดมาผสมกัน จนเป็นน้ำกร่อย ที่ทำไห้ลุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์ ความอุดมสมบูรณ์ ได้หายไปเพราะประตูระบายน้ำ แห่งลุ่มน้ำปากพนัง ภาพที่สมบูรณ์ข้างบนนี้ได้กำลังจะสูญสลายลงไปเลื่อย ๆ ความอุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่น้ำจืดเสมอไป ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำปากพนังคือ น้ำไม่เค็มมากนัก สัตว์น้ำ หลายชนิด ชอบอยู่ในที่น้ำไม่เค็มมาก หรือที่เรียกว่าน้ำกร่อย บางที่ก็เค็มแต่ไม่มากนัก สองข้างลุ่มน้ำก็เป็นดินเลน เหมาะกับการวางใข่ของสัตว์น้ำหลายชนิด แต่วันนี้เปลี่ยนไปเพราะมีแต่น้ำจืด สองฝั่งคลองก็มีแต่ผักตบ รากผักตบก็ทำให้น้ำเน่า ไม่เหมาะกับการทำประมง และการเลี้ยงปลา และใช้อาบ ป่าชายเลนทีมีต้นลำภู ชึ่งเป็นที่วางไข่ของสัตว์น้ำหลายชนิช ตอนนี้กลายเป็นที่อยู่ของ ผักตบชวา ทำไห้น้ำเน่ามาก

ชีวิตคนมากมายต้องลำบากเพราะ กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เคยหาเอามาขายวันละ150 ถึง 500 บาทได้หายไปเพราะไม่มีน้ำเค็มที่ไหลขึ้นไปจากตอนล่างเข้ามาผสมกับน้ำจืนที่ไหลลงมาจากตอนบน ของประตูระบายน้ำทำไห้ปลาน้ำกร่อยที่มีชุกชุมได้หายไป ละมีปูที่ชาวบ้านเรียกกันว่าปูเปี้ยวที่มีอยู่สองฝั่งคลองได้หายไปด้วยปูชนิดนี้มีอยู่มากมาย ก่อนที่จะมีประตูระบายน้ำแห่งนี้ ชาวบ้านสองฝั่งคลองได้จับปูชนิดนี้ไปขายได้คืนละ3ถึง10 กิโลกรัม ซึ่งสร้างรายได้ประมาณคืนละ100 ถึง 500 บาท ทำไห้ประชาชนสองฝั่งคลองมีรายได้ส่งลูกส่งหลานได้เรียน แต่วันนี้ไม่มีอีกแล้ว ชาวบ้านเลยหันมาปลูกผักปลูกผลไม้แต่ก็ไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ คนที่เลี้ยงครอบครัวได้ก็มีไม่กี่ ครัวเรือน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องไร้งาน ไร้เงิน ต้อง รอ คอยเงินเดือนของลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่น ทางชาวบ้านก็ขอไห้ทางประตูระบายน้ำเปิดประตู เพื่อที่จะไห้ความอุดมสมบูรณ์ได้กลับมาเหมือนดังเดิม แต่ก็ไร้วี่แวว เพราะว่าเวลามีคนมาทำรายงาน ส่งทางผู้ใหญ่ในบ้านในเมือง ก็จะเอาแต่สิ่งที่ดี ๆ เอาไปลงในรายงาน เป็นผักชีโรยหน้าว่าดี ทำไห้ชาวบ้านต้องรับชะตากรรม ชาวบ้านหลายคนแทบจะไม่มีรายได้เลย เพราะไม่มีที่ทำมาหากินจะปลูกผักปลูกผลไม้ก็ไม่ได้ บางคนหาเงินได้วันละ50บาท ต้องรอไห้ลูกที่ทำงานต่างจังหวัดส่งมาไห้แบบนี้ลำบากยากเข็น ทั้งครอบครัว พอรู้ว่าชาวบ้านเดือนร้อนกรมประมงได้ นำเอาพันธุ์ปลามาไห้ชาวบ้านแต่ก็มีไม่กี่รายที่มามารถเลี้ยงได้ เพราะว่าน้ำในคลองย่อยหลายสายไม่สามารถเอาน้ำมาเลี้ยงพันธุ์ปลาได้ เพราะว่าน้ำในคลองย่อยหลายสายนั้นเป็นน้ำเน่าที่ผักตบผักกะเฉดได้ตาย และทับถมกันจนเกิดน้ำเน่าเอามาเลี้ยงปลา  ไม่ได้ เลี้ยงได้ก็ไม่ค่อยโต กว่าหน่วยงานจะเข้ามาช่วยก็นานเกินไป เพราะชาวบ้านต้องกินต้องใช่ทุกวัน พอมีคนมาลอกคลองเอาวัชพืดออก ไม่นานก็เป็นเหมือนเดิมอีกคือผักตบผักกะเฉด เต็มคลองอีกเพราะมันโตเร็วมาก แล้วเรื่องน้ำท่วมขังก็ทำไห้ชาวบ้านเดือนร้อน ผมโตมาที่ลุ่มน้ำปากพนัง ถ้ามีน้ำท่วมจะท่วมประมาณเดือน11 กับเดือน12และก็หลาย ๆ ปีจะท่วมซักครั้ง แต่ตอนนี้ท่วมทุกปี ปีละ3ครั้ง เรียกร้องไห้ระบายน้ำออกบ้างก็บอกต้องเก็บน้ำไว้ตอนหน้าแล้ง แล้วประชาชนต้นน้ำก็ต้องทนน้ำขังมาตลอด บอกคำเดียว ว่าเดือนร้อนครับไม่มีที่ทำกินไม่มีปลาไห้จับ แล้วชาวบ้านจะทำยังไงในเมื่อเรียกร้องอ่ะไรไม่ได้ ในการสร้างประตูระบายน้ำแห่งนี้ คนปากพนังวันนี้เดือนร้อนมากแต่ไม่มีหน่วยงาน ใหนรับผิดชอบคน ลุ่มน้ำปากพนัง อย่างจริงจังเลยลุ่มน้ำปากพนังคือสายเลือดของชาวบ้านแต่ตอนนี้สายเลือดเส่นนี้ได้ได้หลับไหลมานานหลายปีแล้ว


ประตูระบายน้ำแห่งลุ่มน้ำปากพนัง ทำไห้ประชาชนบางส่วนบางส่วนต้องหมดงาน และเป็นหนี้เพราะประชาชนที่อยู่ในโครงการลุ่มน้ำปากพนัง ต้องเสียผลประโยชที่ธรรมชาติ ไห้มาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย เพราะว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ทำประมงพื้นบ้าน หาเลี้ยงครอบครัว ตอนที่ไม่มีประตูระบายน้ำแห่งนี้ประชาชนได้หาปลา ปลากระบอก ปลาดุกทะเล ปลากด ปลากระพง ปลาแขยง และ ปูดำ กุ้งหางแดง กุ้งกุลาดำ เป้นต้นซึ่งสร้างรายได้ไห้ชาวบ้านมานานแสนนาน ประมาณวันละ180ถึง2000บาทแต่วันนี้ชีวิตของคนลุ่มน้ำปากพนังเปลี่ยนไปเพราะว่า ต้นน้ำที่อยู่ในทะเลได้ถูกปิดกั้นโดยประตูระบายน้ำขนาดใหญ่ทำไห้ ชาวบ้านต้องบ้านแตกสาแหลกขาด ต้องทิ้งถิ่นฐานไปทำงานไกลบ้าน

10 ก.ย. 2553

อาชีพใหม่ไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้

อาชีพเดิมที่คนลุ่มน้ำปากพนังทำมานมนาน ได้หายไปเพราะการปิดประตูระบายน้ำแห่งนี้ ทำไห้ชาวบ้านต้องทำงานนอกบ้านกันหนัก ขึ่นค่าแรงก็ไม่พอยังชีพ หรือถ้าพอยังชีพก็ไม่มีเงินเก็บ แค่อยู่ได้ไปวัน ๆ เมื่อก่อนนี้ชาวบ้านลุ่มน้ำปากพนังจะ มีปูมีปลาที่จับมาได้ในลุ่มน้ำเพื่อ นำมาเป็นอาหารและนำมาขายเลี้ยงชีพ เป็นรายได้เสริมและรายได้ประจำของคนที่นี้ แต่ตอนนี้ต้องไปซื้อปลาเขากินตามตลาดทำไห้ต้องเสียเงินซื้อมา รายได้ก็น้อยอยู่แล้ว แล้วจะพอกินได้ไง ชาวบ้านต้องทนอยู่โดยที่พูดไม่ได้ ไม่มีใครรับฟัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็บอกเปิดประตูไห้ไม่ได้ เพราะประตูระบายน้ำลงทุนมาเยอะ ต้องทำตามแผนที่วางเอาไว้ตั้งแต่แรก  สรูปชาวบ้านมีแต่จนและอดยากมากขึ่น  ให้ชาวบ้าน ปลูกผัก ชาวบ้านก็ปลูกได้แต่รายได้จากการปลูกผัก ของคนปากพนังนั้นไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว เพราะผักมันมีมาก ทำให้ราคาถูก  และพ่อค้าแม่ค้าเขาก็รับผักมาจาก ลุ่มน้ำตอนบน  อยู่แล้ว ทำให้การปลูกผักที่นี้ ไม่เพียงพอต่อการคำรงชีพ เพราะไม่มีรายได้เสริมอืน ที่หลากหลายเหมือนเมื่อ ตอนมีน้ำไหลขึ่นลง หรือน้ำเค็มน้ำกร่อย  ตอนนีนี้คนส่วนมากที่ปากพนัง     เดือดร้อนมาก โดยที่ไม่มีใครคัดค้านได้ แล้วสิ่งที่รายงานไปให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข่องก็ รายงานว่า ประตูระบายน้ำนี้ดีทุกอย่าง แต่ที่จริงแล้วชาวบ้านพูด ความจริงที่เกิดขึ่นไม่ได้คือ มีประตูระบายน้ำนี้ ผมจนลง ไม่มีเงินส่งลูกหลานเรียน ต่อไปลูกหลานก็คงเป็นกรรมกร นี่คือความจริง  ไม่ใช่ผักชีโรยหน้าเหมือนที่ใครหลายคนเขียนส่งผู้ที่ดูแลประตูระบายน้ำแห่งนี้          
พันธุ์ปลาที่ทางประมงนำมาไห้

พันธุ์ปลาที่เขานำมาแจกจ่ายไห้ชาวบ้านเลี้ยงก็ไม่ได้ เพราะว่าน้ำไม่ถ่ายเทไม่มีออกซิเจนในน้ำน้ำเสียน้ำเน่าแต่เขียนรายงานว่าเชาบ้านได้อาชีพเสริมละอยู่ได้ด้วยลำแข้งตนเองแต่ที่จริงชาวบ้านเดือนร้อนหนักแล้วต่อไปคนลุ่มน้ำปากพนังจะมีเงินส่งลูกส่งหลานเรียนได้ไง ถ้าลูกหลานไม่ได้เรียนก็ไม่มีความรู้แล้วจะเอาความรู้ที่ไหนไปสมัครทำงาน  สรุปต้องเป็นกรรมกรแบกหามเพราะอู่ข้าวอู่น้ำได้หยุดนิ่งแล้ว
นางตังเนี้ยว เพลินบุตร ชาวบ้านจาก อ.ปากพนัง ซึ่งเป็นผู้เฒ่าคนเดียวที่ไม่อนุญาตให้โครงการขุดลอกลำคลองไม่ใช่แค่ป้าตั้งเนี้ยวคนเดียวที่ไม่ให้ขุดหลายคนก็ไม่ให้ขุดแต่ก็ทำอ่ะไรไม่ได้ก็เลยต้องจำใจยอมให้ขุด ขุดลอกป่าจากบริเวณบ้าน เนื่องจากยืนยัน ว่า ตนไม่มีสิทธิอนุญาตให้ใครทำลายธรรมชาติ "แม่น้ำที่นี่มันมีอยู่ของมันไม่ใช่ใครมาขุดให้ปลูกให้ แต่ธรรมชาติมันขุดเองปลูกเอง ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิมาปิดกั้นน้ำ มาทำลายมัน ต้นจากธรรมชาติเหล่านี้

.. แล้วนี่มาปิดมันทำไม?
ถ้าพูดตามตรงก็หาว่าชาวบ้านพูดไม่ได้
ทำไมจะพูดไม่ได้หล่ะ?
ก็ข้าวกับปลามันคู่กัน จะให้ชาวบ้านทำแต่นาแต่ไม่มีปลากินไม่ได้
หรือกินแต่ปลาแต่ไม่มีข้าวกินก็อยู่ไม่ได้เหมือน
แล้วมาปิดทำไม? .. 

เมื่อก่อนเราอยู่กันสบายมากเหลือเกิน ไม่อดไม่อยากข้าวปลา น้ำไม่เหม็นด้วย ตอนนี้พอมีปัญหามีคนมาแนะให้ทำสวนผสม ทำแล้วได้พอกินอะไร เอาสักวันละ 25 บาทยังไม่ได้เลย แต่ก่อนหน้าบ้านเรามีปลา ชุกชุม เดี๋ยวนี้ไม่มีเลย ต้องไปซื้อปลาที่อื่นกิน ก็ปลาไหนข้ามประตูเข้ามาก็ตายปลาน้ำเค็มข้ามน้ำจืดก็ตาย ปลาน้ำจืดข้ามไปน้ำเค็มก็ตาย ไม่ตายก็ขึ้นตะกั่ว (ตาบอด)หมด เพราะน้ำมันต่างกันมาก แต่ก่อนมันมีน้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ต้นจากก็ตายเพราะจากชอบน้ำเค็ม มันต่างจากปลาในเขื่อนปากมูล เพราะเขื่อนปากมูลมันปลาน้ำเดียวคือน้ำจืด ที่นี่หอยขมริมแม่น้ำแต่ก่อนเยอะมาก เราไปกอบเอามาทำอาหารกินกันสบาย เดี๋ยวนี้ไม่มีให้กินเลย ตายหมดเกลี้ยงเลย ปลาก็นับร้อยๆ ชนิด ยกยอทีกินไม่หมด ปลาช่อน ปลาชะโด กุ้ง มีชุกชุมมากเมื่อก่อนปิดเขื่อน เฉพาะดักแต่ไซก็ได้ปีละ 3-4 หมื่นบาท แล้ว หรือทำแต่ซังดักปลาก็อยู่ได้แล้ว เดี๋ยวนี้มันหมดแล้ว(แหม๊ดชาติเลย) ตั้งแต่ชะอวด ลงมาจนถึงปากพนัง น้ำเน่าลำบากกันหมด จะกินจะอาบก็ไม่ได้ด้วย มันคัน


                                  
นายสันติชัย ชายเกตุ เจ้าหน้าที่โครงการสิทธิชุมชนศึกษา วิเคราะห์ถึงปัญหาและเผยถึงบทบาทการทำงานกับชุมชนว่า " ผลกระทบในด้านอาชีพ เพราะแม่น้ำที่นี่ไหลเวียนมาเป็นร้อยพันปี เกิดเป็นอาชีพ เป็นวิถีชีวิตของชุมชนที่ปรับตัวอยู่กับธรรมชาติ มีน้ำขึ้น น้ำลง น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม ชาวบ้านเขาก็ทำมาหากินไปตามฐานทรัพยากร อย่างคนเขตน้ำจืดก็ทำนา คนเขตน้ำกร่อย น้ำเค็ม ก็ทำประมง พอมาวันที่ 1 ตุลาคม 2542 ซึ่งชาวบ้านเขาจำขึ้นใจมาก มีการปิดประตูเขื่อนอุทกฯ ปิดน้ำ ปิดระบบ ซึ่งนั่นก็คือเปลี่ยนวิถีชีวิตคนในพื้นที่นี้ เพราะมีการแยกน้ำจืด ออกจากน้ำเค็ม ซึ่งขัดกับธรรมชาติ สิ่งสำคัญคือ ความอุดมสมบูรณ์ที่เคยมีมาตลอดก็สูญหายไปเกือบสิ้นเชิง ในระยะเวลา 4 ปี และหนักขึ้นทุกปี โดยเฉพาะปีนี้ ปลาในลำคลองสูญหายไปเลย อาชีพประมงยุติเลย เพราะการปิดเขื่อนปิดน้ำทำให้ไม่มีปลาขึ้น-ลง วางไข่ ในคลองมีแต่วัชพืชผักตบชวา นี่กลุ่มน้ำจืด ส่วนปัญหากลุ่มน้ำเค็มคือเดิมพื้นที่มันเป็นพื้นที่น้ำกร่อยด้วย พอน้ำเค็มจัด ก็ไม่มีปลาอีก เนื่องจากปลาแถบนี้เป็นปลา 2 น้ำ วางไข่น้ำจืดมาโตน้ำเค็ม วางไข่น้ำเค็มมาโตน้ำจืด เป็นต้น อย่างกุ้งก้ามกรามสูญพันธุ์ไปเลย เพราะสัตว์ชนิดนี้ต้องอาศัย 2 น้ำกลุ่มอาชีพอื่นๆ ก็กระทบครับ อย่างกลุ่มทำน้ำตาลต้นจาก ขนมจาก เหล้าจาก ที่นี่เคยอุดมสมบูรณ์จนมีสำนวนเรียกความอุดมสมบูรณ์ของคนที่นี่ว่า "น้ำตาลต้องบางหรง ปลาต้องทุ่งหน้าโกฏิ" พื้นที่ในอำเภอปากพนัง แต่ตอนนี้บางหรงไม่มีน้ำตาลแล้วเพราะกลายเป็นเขตน้ำเค็ม ต้นจากตาย หรือไม่ก็ไม่ออกรวง ไม่ออกน้ำตาล ส่วนกลุ่มทำนาที่ถูกแบ่งโซนให้ พอเอาเข้าจริงๆ ก็ทำไม่ได้เพราะน้ำเน่ามาก ใช้อุปโภคบริโภคไม่ได้ ตะกอนเยอะมาก ที่ก้นคลองมีตะกอนสูงขึ้นเป็นเมตรๆ เลย ทั้งที่เมื่อก่อนก้นคลองพื้นที่จะแข็งมาก ไม่มีตะกอนเพราะน้ำไหลแรงมาก พัดตะกอนออกไปทะเลหมด แถวเชียรใหญ่ ที่ตั้งใจให้เป็นพื้นที่ทำนานั้น มันเป็นพื้นที่ราบต่ำมาก
เมื่อปิดประตูเขื่อนทำให้ระดับน้ำมันสูงคงที่ ทำให้น้ำกักขังตลอดปีไม่สามารถทำนาได้ เพราะดินไม่แห้ง ในขณะที่ดินแถบนั้น เป็นดินเหนียวทำให้ไถยากหรือไถไม่ได้เลย เมื่อก่อนถึงน้ำแห้งก็ยังสูบขึ้นไปทำนาได้ แต่เดี๋ยวนี้น้ำไม่แห้งเลยแต่ทำนาไม่ได้
สภาพชีวิตชาวบ้านในปัจจุบันค่อนข้างลำบากมาก และที่สาเหตุที่ชาวบ้านเลิกทำนานั้น ไม่ใช่เพราะดินเค็ม น้ำเค็ม แต่เพราะทำนามันอยู่ไม่ได้แล้ว มันไม่คุ้มทุนเลย ราคาข้าวมันไม่ดี สุดท้ายกลุ่มนากุ้ง ในระยะแรกๆ ที่อาชีพนี้ได้รับความนิยมก็มีปัญหากันกันจริงกับกลุ่มนาข้าวปล่อยน้ำ ปล่อยอะไรลงไป แต่พอต่อมาก็มีการปรับสภาพในการอยู่ร่วมกันได้มากขึ้น หมายความว่า เมื่อก่อนก็มีปัญหา แต่ไม่รุนแรงมากนัก แต่พอปิดเขื่อนเท่านั้น คนทำนา คนเลี้ยงกุ้ง คนหาปลา มีปัญหาเดียวกันและหนักมาก
สภาพชาวบ้านตอนนี้ก็ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดให้ได้ รับจ้างบ้างให้พออยู่ได้ เมื่อก่อนชาวบ้านที่นี่มีทองใส่เต็มตัว ลูกหลานชาวปากพนังหัวไทรเรียนกันสูงมาก ทางออกที่ชาวบ้านเขาพยายามประชุมและหาทางร่วมกันก็คือเรียกร้องให้เปิดเขื่อน ตัวผมเองก็พยายามรวบรวมข้อมูลเอกสาร ผลกระทบต่างๆ ของชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านมีข้อมูล เอกสารยืนยัน บทเราเพียงแค่เข้าไปเสริม หรือให้ความรู้เรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานตามกรอบรัฐธรรมนูญ ที่จะบอก หรือกำหนดอนาคตของเขา ในการดำเนินชีวิต และชาวบ้านเองก็มีข้อเสนอว่า อยากให้เปิดเขื่อนอย่างน้อย 3 ปี เพื่อศึกษาดู ว่าเปิดกับปิด อย่างไหน ดีกว่า กระทบน้อยกว่ากันครับ โดยเริ่มแรกคงต้องให้ชาวบ้านเขาทำงานกันเองก่อนว่าเขาต้องการอะไร อย่างไร โดยจัดเป็นเวทีสัมมนา แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ในแต่ละชุมชน หลังจากนั้นจึงค่อยหาทางให้ชาวบ้านและภาครัฐได้มาพูดคุยกัน เสนอทางออกในการแก้ปัญหาครับ เพราะผมคิดว่า ในระยะหลังๆ ตัวภาครัฐเองก็เริ่มรับรู้แล้วว่า มันมีปัญหากระทบจริงๆ เพียงแต่ชาวบ้านก็ต้องมีพลังมากกว่านี้ เพื่อให้หน่วยงานกล้าตัดสินใจครับ



นายประเสริฐ คงสงค์ ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร ย้ำแผนงานพัฒนาต่อเนื่องยิ่งทำก็ยิ่งทำลาย ผลกระทบก็เริ่มตามามาก โดยเฉพาะโครงการขุดลอกคลองตั้งแต่ปากแพรกถึงหน้าโกฏิ "เมื่อก่อนสองฝั่งคลอง ฝังซ้ายมันมีป่าชายเลน ฝั่งขวามันมีป่าไม้ มันเป็นสถานที่ของสัตว์น้ำเล็กใหญ่ เป็นที่วางไข่ อันที่จริง การลอกคลองมันมีวิธีแบบอนุรักษ์ ไม่จะลอกแบบดูด หรือขุดก็แล้วแต่ ขอแค่อย่าทำลายป่าไม้สองฝั่งคลอง ซึ่งระยะทาง 40 กว่ากิโล จากเขื่อนกั้นน้ำเค็มน้ำจืด ไปถึงปากกระวะ แพรกเมือง โดยขุดเอาป่าจากออกแล้วกั้นเป็นสันสูงสองฝั่งคลอง เหมือนถนนสองฝั่ง แต่เป็นดินเลน ทำให้ป่าชายเลน ป่าจากโดนทำลายหมด
โดยธรรมชาติป่าสองฝั่งคลองนั้น มันช่วยดูดซับของเสีย หรือมลภาวะต่างๆ ในลำคลอง และเมื่อขุดลอกทำลายป่าไม้ ก็เกิดสนิมเหล็กในน้ำขึ้น ยิ่งเพิ่มมลภาวะขึ้นอีกด้วย เริ่มลอกตั้งแต่ ปลายปี 2545 จนถึงปัจจุบัน เริ่มมีสนิมเหล็ก ซึ่งมาจากการขุดรากป่าจาก ทำให้รากเหล่านี้คายสนิมหรือยาง ทำให้กุ้ง ปลา ไม่ชอบอาศัยอยู่ หรือถ้าอยู่ก็ไม่ค่อยเจริญเติบโต ปัญหาแบบนี้ไม่เคยมีเลยในคลองหัวไทร ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา
ผมเคยพยายามแจ้งให้หัวหน้าก่อสร้าง 2 กรมชลประทาน ที่แพรกเมืองรับทราบแล้ว เขาก็แจ้งว่าจะลงมาดู แต่ก็ไม่เห็น หรืออาจจะมาแต่ไม่ได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบ ชาวบ้านพยายมโทรไป 2-3 ครั้ง แต่ก็ไม่มาหรือบ่ายเบี่ยงมาชี้แจงชาวบ้าน 3-4 เดือน อีกปัยหาหนึ่งก็คือดินที่ขุดถมเป็นสันริมคลองเป็นดินเลน ขี้โคลน ขุดขึ้นตั้งไว้ไม่กี่วันโดนฝนหน่อยก็ยุบหายไปหมด ไหลลงคลองคืนตัวชาวบ้านจริงๆ เขาต้องการให้มันเป็นป่าชายเลน ป่าจากเหมือนเดิม เขาอยากปลูกหรือฟื้นฟูป่ากลับคืนมาทั้งนั้น จึงกำลังจะเรียกร้องให้กรมชลประทานปลูกป่า หรือคืนธรรมชาติให้ชาวบ้านคืน ตัวหน่วยงานให้พื้นที่เอง ก็แจ้งแต่ปาก ดูแต่ตา ไม่เคยคิดจะทำอะไรให้เป็นการแก้ปัญหาเลย
ประเสริฐ คงสงค์

ทั้งหมดนี้ ถ้าภาครัฐหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องการให้คนหัวไทรอยู่หัวไทร ปากพนังอยู่ปากพนัง ได้ทำมาหากินอยู่ที่เดิมละก็ ต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป จะให้คนที่นี่ ต่อสู้เหมือนคนภาคอื่นๆ นั้นยาก อย่างดีก็แค่ทำหนังสือ ถึงหน่วยงาน ถ้าเขาแก้ไขให้ก็รอ แต่ถ้าไม่แก้ปัญหาให้ก็ย้ายที่อยู่ ไปที่อื่นๆ มันเป็นอย่างนี้ตลอด ตอนนี้ก็ย้ายออกไปบ้างแล้ว
นายบรรจบ อ่วมคง อาชีพประมง วัย 65 ปี จาก ต.บ้านเนิน อ.เชียรใหญ่ กล่าวถึงสภาพชีวิตตนเองที่ต้องเผชิญปัญหา มากมายหลังการปิดประตูเขื่อนอุทกฯว่า " ผมทำอาชีพประมงพื้นบ้านในลุ่มน้ำปากพนังมาตั้งแต่ยังเด็กๆ เลี้ยงลูกๆ 12 คน มานาน การทำอาชีพประมงในพื้นที่นี้จะปรับตัว ปรับวิธีการ ไปตามสภาพน้ำ ความชุ่มของสัตว์ในแต่ละเดือน เช่น น้ำกร่อย กลางคืนหากุ้งแม่น้ำ กลางวันวางอวนหรือทอดแห หรือปางปีปูชุมก็จะวางไซปูแทน ไปจนถึงเขตน้ำเค็ม จากน้ำกร่อยมาจนถึงช่วงน้ำเค็มในฤดูแล้งก็จะวางไซปู วางอวน พ้นจากน้ำเค็มก็จะเป็นน้ำกร่อยอีกครั้ง สภาพน้ำกร่อยจะเกิดปีละ 2 ครั้ง ก็จะกลับมาจับแบบเดิม พอน้ำจืดนี้จะวางไทรใหญ่ ปลาที่ได้ก็จะเป็นปลาช่อน ปลาชะโด ปลากดเหลือง กุ้งแม่น้ำ กุ้งแต้ กุ้งกุลาดำ กุ้งหางแดง กุ้งแชบ๊วย และปู เยอะครับจำไม่หมด เพราะสัตว์น้ำทั้งจืดและเค็มมันขึ้นลงวางไข่ในพื้นที่นี้ ตามฤดูกาล เช่นกุ้งแม่น้ำ ปู จะมาวางไข่ในพื้นที่น้ำกร่อยนะครับ ประมาณเดือน กุมภา-เมษา และพฤศจิกา-ธันวา ครับ
ก่อนมีโครงการนี้ ชีวิตผมสบายมาก ก่อนลูกจะไปโรงเรียนไม่มีเงินสักบาท คืนนี้ผมออกเรือหาปลา เงินสัก 300 บาทคืนหนึ่ง ผมสามารถหาให้ลูกไปโรงเรียนได้เลย
ในบ้านก็ได้กินอุดมสมบูรณ์ไม่ต้องซื้อกับข้าวเลย ซื้อแต่ข้าวสารเท่านั้น แต่พอมาปิดเขื่อนอุทกฯ นี้เอง ทุกอย่างหายหมด เนื่องจากน้ำไม่ไหลเวียน พันธุ์สัตว์น้ำที่เคยจับก็สูญหายไปหมดเลย อาชีพผมก็ต้องหยุดไปด้วย ไม่มีรายได้อะไรเลย ทั้งที่แต่ก่อนผมมีรายได้เฉลี่ยวันละ 200 บาท อย่างเช่นวางไซปู เที่ยวหนึ่งผมเคยได้ถึง 13 ตัว เกือบ 4 ก.ก. ปูไข่นะครับ กิโลละ 140 บาทสมัยนั้น เท่าไหร่ คำนวนดูนะครับ ตอนนี้ลำคลองเน่า มีสาหร่าย ผักตบ เต็มไปหมด
ผมคิดว่า แม่น้ำปากพนังเป็นเส้นเลือดเส้นใหญ่ของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังทั้งหมดทั้ง เชียรใหญ่ ชะอวด หัวไทร ปากพนัง การมาทำเขื่อนปิดน้ำแบบนี้ เป็นการมาทำลายระบบไหลเวียนแบบธรรมชาติทั้งลุ่มน้ำ อาชีพประมงเช่นผม กระทบมากทั้งบนเขื่อนล่างเขื่อน กระทบทั้งนั้นเลย เรือในหมู่บ้านผม 2,000 ลำต้องหยุด และอาชีพประมงเช่นผมเป็นอาชีพที่ไม่มีที่นาทำกินเหมือนคนอื่นๆ ลำบากครับ จึงให้เปิดเขื่อนกลับมาเหมือนเดิม หรืออย่างน้อยทดลองเปิดดูก่อนก็ได้ หลังจากทดลองปิดมา 4 ปี แล้วมันกระทบมากจริงๆ แล้วทดลองเปิดดูสัก 2 ปี เพื่อศึกษาเปรียบเทียบดูว่า อย่างไหนจะกระทบหรือดีกว่ากัน และการศึกษาวิจัยนั้นต้องให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วยนะครับ เพราะที่ผ่านๆ มานักวิชาการไม่เคยเข้ามาสอบถามชาวบ้านเลย



แต่หลังจาก โครงการแรก ประตูใหญ่ คือ "อุทกวิภาชประสิทธิ" กั้นแม่น้ำปากพนังก่อนลงสู่ทะเลสร้างเสร็จ และเปิดทำการเมื่อ 1 ตุลาคม 2542 ขณะที่ประตูอื่นๆ อาทิ เขื่อนเสือหึง กำลังก่อสร้างซึ่ง กั้นที่ชะอวด ทำให้ระบบไหลเวียนของน้ำตามลำคลองสาขาต่างๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ ระบบนิเวศซึ่งเป็นรากฐานของอาชีพทำอยู่ ทำกิน กระทบหนัก และยิ่งโครงการล่าช้าหยุดชะงักบ่อยครั้ง ทำให้ชาวบ้านเริ่มได้รับผลกระทบจากระบบน้ำที่เปลี่ยนไป อาทิ น้ำไม่ไหลเวียนจนเน่า หรือท่วมขัง กลุ่มอาชีพทำนา หรือเลี้ยงกุ้ง อยู่ผิดโซนทำให้เสียประโยชน์ และโดยธรรมชาติความเป็นจริงน้ำที่นำมาเลี้ยงกุ้งนั้น เป็นน้ำผสมจากธรรมชาติ ซึ่งปริมาณเค็มจะน้อยมาก แต่น้ำทะเลที่เป็นสภาพเดิมตามธรรมชาตินั้น เค็มเกินไปไม่สามารถใช้ได้ การอพยพของปลาน้ำจืด-น้ำเค็มเพื่อวางไข่ถูกตัดขาด พืชในระบบน้ำแต่ละชนิดน้ำสูญหายหรือไม่ออกผลผลิตดั่งเดิม อาทิ ต้นจาก ซึ่งเป็นพืชน้ำกร่อย ไม่ออกรวง ไม่ออกน้ำ และ เกิดตะกอนทับถมขึ้นในลำคลองสูงมาก เนื่องจากระบบน้ำไม่ไหลเวียน และระดับน้ำใต้ดินขึ้นสูง ท่วมขังไม่แห้งตามฤดูกาล ทำให้ดินที่ใช้ทำนามีความเหนียวไถไม่ได้ เป็นต้น




                                     คนลุ่มน้ำ..ชีวิตที่หยุดนิ่งพร้อมสายน้ำ


 โครงการลุ่มน้ำปากพนัง มีพื้นที่ 1.7 ล้านไร่ หรือประมาณ 26.64 ของพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุม 3 เภอ คือ อ.ปากพนัง เชียรใหญ่ และอ.หัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำหัวไทร หรือเรียกตามชื่ออำเภอและลำคลองสาขา กว่า 119 สาย จากต้นกำเนิดเทือกเขาบรรทัด ไหลผ่าน อ.ชะอวด หัวไทรและลงทะเลที่ ปากพนัง บริเวณลุ่มน้ำปากพนัง โดยเฉพาะตอนกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มสูงกว่าระดับน้ำทะเล 5-10 เมตร และตอนปลายเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่ง เป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง ในฤดูแล้งที่แล้งจัดของบางปี ทำให้น้ำทะเลหนุนขึ้นสูง ขึ้นไปผสมกับน้ำจืด ถึงเขต อ.ชะอวด ทำให้เกิดการผสมน้ำของ 2 น้ำคือจืดกับเค็ม กลายเป็นน้ำกร่อย ทำให้สภาพพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มีระบบนิเวศน้ำ 4 น้ำ รวมกับน้ำเปรี้ยวที่ล้นออกมาจากจากพรุครวนเคร็ง หรือเปรี้ยวที่เกิดจากการผสมของน้ำจืดกับน้ำเค็มในช่วงสั้นๆ

ระบบ 4 น้ำ ก่อให้เกิดความหลากหลายของสภาพนิเวศและอาชีพของชุมชน อาทิ ป่าจาก ป่าพรุ ป่าชายเลน ป่าสาคู และป่าดิบชื้นหรือป่าต้นน้ำ เป็นความจำเพาะ ที่อุดมสมบูรณ์แบบธรรมชาติ ทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นแอ่งอารยธรรมการผลิต การทำอยู่ ทำกิน ที่หลากหลายมาแต่อดีต บวกกับเป็นเมืองปากแม่น้ำ จึงกลายเป็นประตูการค้า ทำให้ลุ่มน้ำปากพนัง มีข้าวเป็นสินค้าออกหลักและเป็นปัจจัยที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองในพื้นที่นี้

หลังจากรัฐบาลในยุคเร่งขยายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งออกข้าว ต่อมาก็คือกุ้ง ซึ่งเป็นสินค้าตัวหนึ่งที่ได้รับความใส่ใจมากในยุคนั้น เนื่องจากทำรายได้สูง ซึ่งสนับสนุนโดยกรมประมง ในขณะที่การทำนาต่อมาต้องกระทบจากราคาต้นทุนที่สูงแต่ราคารับซื้อต่ำ ทำให้ ตั้งแต่ ทศวรรษที่ 2530 เป็นต้นมา การเลี้ยงกุ้งขยายตัวสูง ครอบพื้นที่ทำนาเดิมในลุ่มน้ำปากพนัง แทนที่นาข้าวซึ่งไม่คุ้มทุน จนในระยะนั้นการทำนากุ้งได้ก่อผลกระทบ น้ำเค็มรุกพื้นที่นาข้าว ทำให้เกิดโครงการแบ่งแยกโซนน้ำ จืด-เค็ม กั้นออกจากกันเด็ดขาด นั่นคือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังทั้งระบบ
แต่พอทำประตูระบายน้ำกลับทำให้ ชาวบ้าน ที่หาเลี้ยงครอบครัว โดย ใช้สายน้ำแห่งนี้
เป็นที่ทำกิน หลายครอบครัว ต้องหมดแหล่งทำกิน โดยไม่มีใครหันมามองเลย ทิ้งชาวบ้าน ชาวประมงพื้นบ้าน ไปชะงั้น